• รูปหน้าบริการ

หน่วยตรวจและหน่วยรับรองมาตรฐาน GAP, COC, Organic, GMP/HACCP

 

หน่วยตรวจและหน่วยรับรองมาตรฐาน GAP, COC, Organic, GMP/HACCP

ด้วยความต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น คุณภาพและความปลอดภัยอาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคและหน่วยงานควบคุม ดูแลของภาครัฐเรียกร้องต่อผู้ผลิต ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ จึงมีมาตรการถ่ายโอนงานด้านการรับรองฟาร์มในการผลิตขั้นปฐม ตามหลักปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตสินค้าเกษตร (Good Agriculture Practices, GAP) ให้กับภาคเอกชนที่สนใจ เพื่อเป็นการสนับสนุน พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดให้ต้องมีหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2546 ได้มุ่งเน้นให้การบริการทดสอบคุณภาพ และความปลอดภัยทางด้านอาหารด้วยความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วภายใต้มาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ให้กับผู้ประกอบการและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์โดยบุคลากรและระบบการทำงานที่เปี่ยมไปด้วยความเป็นมืออาชีพ และเชื่อถือได้ อันเป็นส่วนในการผลักดันให้อาหารไทยไปสู่ตลาดโลกอย่างมีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับ

ด้วยความเชื่อมั่นในผลการดำเนินงานตลอดมา ในปี 2555 ผู้บริหาร บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด มีนโยบายที่จะเพิ่มบทบาทของบริษัทฯ มาเป็นหน่วยตรวจสอบและรับรองระบบคุณภาพและผลผลิต โดยทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองว่าระบบคุณภาพและผลผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด บริษัทฯ มีความพร้อมที่จะเป็นหน่วยรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17065 และหน่วยตรวจตามมาตรฐาน ISO/IEC 17020 ภายใต้การรับรองของ มกอช. รวมทั้งการขอเป็นหน่วยรับรองระบบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17021-1 สาขา GMP/HACCP.

 

นโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์

เป็นหน่วยรับรอง/หน่วยตรวจ ที่มีการจัดองค์กรตามมาตรฐานสากล มีการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นต่อการรักษาความเป็นกลาง บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ให้บริการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

การรับรองผลิตภัณฑ์/ระบบ

ส่วนตรวจสอบและรับรองระบบ

ส่วนตรวจสอบและรับรองระบบ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ทำหน้าที่เป็นหน่วยตรวจ (Inspection Body : IB) และหน่วยรับรอง (Certification Body : CB) ได้เริ่มดำเนินการให้บริการด้านการตรวจประเมินและให้การรับรองระบบ ดังนี้

  • GAP ฟาร์มเลี้ยง และฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาล กุ้งทะเล ปลานิล ปลาสลิดและกุ้งก้ามกราม
  • CoC ฟาร์มเลี้ยง และฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาล กุ้งทะเล
  • Good Manufacturing Practices (GMP)
  • Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP)
  • GAP พืชอาหาร ข้าว ข้าวหอมมะลิไทย
  • เกษตรอินทรีย์ : พืชอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์

 

  • การรับรองความสามารถของหน่วยรับรอง (CB)

    CB : มาตรฐาน ISO/IEC 17065 : 2012

    1.การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

    • ด้านประมง : กุ้งทะเล ปลาทะเล สัตว์น้ำจืดและอื่นๆ
    • GAP : มกษ.7401-2565, มกษ.7422-2561, มกษ.7417-2559, มกษ.7429-2559, มกษ.7432-2558, มกษ.7436-2563, มกษ.7421-2561, มกษ.7438-2565, GAP : กรมประมง และ CoC : กรมประมง
    • ด้านพืชข้าว : ข้าวหอมมะลิไทย ข้าว พืชอาหาร พืชสมุนไพร
    • GAP : มกษ.4400-2552, มกษ.4401-2551, มกษ.9001-2564, มกษ.3502-2561 และ มกษ. 4406-2560
    • เกษตรอินทรีย์ : พืชอินทรีย์และข้าวอินทรีย์
    • มกษ.9000 เล่ม1-2552, มกษ.9000 เล่ม4-2553 และ มกษ.9000-2564

    2.ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร
    มกษ.4702-2557 : เมล็ดถั่วลิสง : ข้อกำหนดปริมาณอะฟลาทอกซิน

    CB : มาตรฐาน ISO/IEC 17021-1 : 2015

    การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม (ISIC Code15)
    GMP : มกษ.9023-2564 : มาตรฐานการปฏิบัติทางการผลิตอาหารที่ดี (Good Manufacturing Practices : GMP)

    • มกษ.4403-2564 : มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว (Good Manufacturing Practices for Rice Mill)
    • มกษ.9035-2563 : มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด (Good Manufacturing Practices for Packing House of Fresh Fruits and Vegetables)
    • มกษ.1004-2557 : มาตรฐานการปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Code of Practice for Sulphur Dioxide Fumigation of Fresh Fruits)
    • มกษ.6401-2558, มกษ.9039-2556, มกษ.9041-2557, มกษ.9046-2560, มกษ. 9047-2560 และ มกษ.9070-2566

    HACCP : มกษ.9024-2564 : ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis Critical Control Point : HACCP)

    The General Principles of Food Hygiene : Good Hygiene Practices (GHPs) and the Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System (CXC 1 – 1969), Revised in 2020

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ.2563 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร

    CB : หนังสือแสดงการขึ้นทะเบียนหน่วยรับรองโรงงานผลิตสินค้าพืช ออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร

    CB : หนังสือแสดงการขึ้นทะเบียนหน่วยรับรองมาตฐานการผลิตพืช ออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร

  • การรับรองความสามารถของหน่วยตรวจ (IB)

    IB : มาตรฐาน ISO/IEC 17020 : 2012


    GAP มกษ.7401-2565, มกษ.7422-2561, มกษ.7417-2559, มกษ.7429-2559, มกษ. 7436-2563, มกษ.7421-2561, GAP กรมประมง, CoC กรมประมง, มกษ.4400-2552, มกษ.4401-2551, มกษ.9001-2564, มกษ.4406-2560 และ มกษ.7438-2565

  • ขอบข่ายที่ให้การรับรอง (CB)

    1.ด้านประมง

    • มกษ.7401-2565 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล
    • มกษ.7422-2561 : การปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเล
    • มกษ.7417-2559 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
    • มกษ.7429-2559 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงปลาทะเล
    • มกษ.7432-2558 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มผลิตลูกกุ้งขาวแวนนาไมปลอดโรค
    • มกษ.7436-2563 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค
    • มาตรฐานโค้ด ออฟคอนดัค (CoC) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลกุ้งทะเล และสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ.2546 กรมประมง
    • มกษ.7421-2561 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำจืด
    • มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำ และสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ. 2553 กรมประมง (กุ้งทะเล สัตว์น้ำจืด ปลาทะเล หอยสองฝา หอยเป๋าฮื้อ ปูม้า และปูทะเล)
    • มกษ.7438-2565 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้าที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้้าเพื่อการบริโภค

    2.ด้านพืชอาหาร ข้าว ข้าวหอมมะลิไทย เกษตรอินทรีย์

    • มกษ.4400-2552 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวหอมมะลิไทย
    • มกษ.4401-2551 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว
    • มกษ.9001-2564 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร
    • มกษ.3502-2561 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพร
    • มกษ.4406-2560 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว
    • มกษ.9000 เล่ม 1-2552 : เกษตรอินทรีย์ เล่ม 1 การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
    • มกษ.9000 เล่ม 4-2553 : เกษตรอินทรีย์ เล่ม 4 ข้าวอินทรีย์

    3.ด้าน GMP/HACCP

    • The General Principles of Food Hygiene : Good Hygiene Practices (GHPs) and the Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System (CXC 1 – 1969), Revised in 2020
    • มกษ.1004-2557 : มาตรฐานการปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Code of Practice for Sulphur Dioxide Fumigation of Fresh Fruits)
    • มกษ.9035-2553 : มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด (Good Manufacturing Practices for Packing House of Fresh Fruits and Vegetables)
    • มกษ.6401-2558 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ
    • มกษ.9039-2556 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตผักและผลไม้สด ตัดแต่งพร้อมบริโภค
    • มกษ.9041-2557 : หลักปฏิบัติสำหรับการผลิตสินค้าเกษตร แช่เยือกแข็ง
    • มกษ.9046-2560 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียน แช่เยือกแข็ง
    • มกษ.9047-2560 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด
    • มกษ.9023-2564 : หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร : การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี
    • มกษ.9024-2564 : ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางการนำไปใช้
    • มกษ.4403-2564 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าวและโรงปรับปรุงสภาพข้าว
    • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ.2563 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
    • มกษ.9070-2566 : หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ

    4.การรับรองผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร

    • มกษ.4702-2557 : เมล็ดถั่วลิสง : ข้อกำหนดปริมาณอะฟลาทอกซิน

    5.ด้านป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้

    • มอก.14061 เล่ม 1-2559 : การจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
    • มอก.2861 เล่ม 1-2560 : ห่วงโซ่การควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้

  • ขอบข่ายที่ให้บริการตรวจ (IB)

    1.ด้านประมง

    • มกษ.7401-2562 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล
    • มกษ.7422-2561 : การปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเล
    • มกษ.7429-2559 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงปลาทะเล
    • มกษ.7436-2563 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค
    • มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำ และสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ.2553 กรมประมง (กุ้งทะเล กุ้งก้ามกราม ปลานิล และปลาสลิด)
    • มาตรฐานโค้ด ออฟคอนดัค (CoC) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลกุ้งทะเล และสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ.2546 กรมประมง
    • มกษ.7417-2559 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
    • มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ.2559 กรมประมง (กุ้งทะเล)

    2.ด้านพืช ข้าว ข้าวหอมมะลิไทย

    • มกษ.4400-2552 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวหอมมะลิไทย
    • มกษ.4401-2551 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว
    • มกษ.9001-2556 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร
    • มกษ.3502-2561 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพร
    • มกษ.4406-2560 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว

  • ขอบข่ายที่ให้การตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ VVB

    1.ด้านก๊าซเรือนกระจก

    • โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) T-VER ประเภทโครงการ ลด ดูดซับ และกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการเกษตร

ภาษา และพื้นที่ที่ให้การรับรอง/การตรวจ

  • ภาษา : ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก หากผู้ยื่นคำขอ/ผู้ได้รับการรับรอง ประสงค์ให้ใช้ภาษาต่างประเทศในการตรวจประเมิน หน่วยรับรองจะพิจารณาเป็นกรณีไป
  • พื้นที่ที่ให้การรับรอง : ครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัดในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในขอบข่ายที่ให้การรับรอง โดยไม่คำนึงถึงขนาด ประเภท หรือเงื่อนไขใดๆ

ประโยชน์จากการได้รับการรับรอง
1. ผู้ได้รับการรับรอง จะได้รับใบรับรองที่ได้ยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน GAP, CoC, Organic, GMP/HACCP และมกษ.ที่ระบุในขอบข่ายให้บริการ
2. ผู้ได้รับการรับรอง สามารถใช้เครื่องหมายการรับรองระบบของ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด และเครื่องหมายรับรองระบบงาน ในการประชาสัมพันธ์
3. ผู้ได้รับการรับรอง สามารถขอใช้เครื่องหมาย หรือ หรือ จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หากผู้ได้รับการรับรอง มอก. 14061 เล่ม 1 และ มอก. 2861 เล่ม 1
สามารถขอใช้เครื่องหมาย จาก สำนักงานการรับรองไม้เศรษฐกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม และเครื่องหมาย จากองค์กรระดับนานาชาติที่ไม่หวังผลกำไรและมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
4. สร้างความเชื่อมั่น และประกันคุณภาพระบบ การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และการผลิตทางการผลิตอาหารที่ดี ให้แก่บริษัท หรือโรงงานคู่ค้า และผู้บริโภค


ขั้นตอนการขอรับการรับรองระบบ

รายชื่อผู้ได้รับการรับรอง
- มาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP CoC และ Organic
- มาตรฐาน GMP/HACCP

ดาวน์โหลด หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

ดาวน์โหลด แบบฟอร์มต่างๆ ในการขอรับบริการ
แบบขอการรับรอง/การตรวจ ตามมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP และ CoC

แบบขอการรับรอง/การตรวจ ตามมาตรฐาน GMP/HACCP

แบบขอการรับรอง/การตรวจ ตามมาตรฐานการเกษตร GAP

แบบขอการรับรอง/การตรวจ ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

แบบขอการรับรองด้านป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้

แบบขอการรับบริการด้านก๊าซเรือนกระจก


ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ส่วนตรวจประเมินและรับรองระบบ
Tel. 0-2940-6881-3, 0-2940-5993 Ext.213
Fax. 0-2940-5544
Email.
1.ด้านประมง : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
2.ด้าน GMP/HACCP : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
3.ด้าน พืช ข้าว พืชสมุนไพร เมล็ดพันธุ์ข้าวและเกษตรอินทรีย์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
4.ด้านป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.


บริษัท ห้องปฎิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
เลขที่ 2179 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ : (66)-2940-5993, (66)-2940-6881-3 l โทรสาร : (66)-2940-6668