ข่าวสารและคลังความรู้

ข่าวสารและคลังความรู้
25/11/2565
ข่าวสารและคลังความรู้

ภัยร้ายจากการกินเค็ม

 สาระน่ารู้ EP.1

รู้กันหรือไม่ คนเราไม่ควรบริโภคเกลือเกิน 1 ช้อนชา หรือ น้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน

 

25 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันไอโอดีนแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาเน้นย้ำข้อมูลตามแผนปฏิบัติการค้านการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ ปี2565 – 2570 ที่ระบุว่า การบริโภคโซเดียมของคนทั่วไป ใน 1 วัน ไม่บริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งนั้นเทียบเท่า กับเกลือที่ใช้ปรุงอาหารไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือน้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งจากข้อมูลผลสำรวจ พบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมสูงถึง 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน สูงกว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเกือบ 2 เท่า อีกทั้งยังมีพฤติกรรมการเติมเกลือ น้ำปลา หรือซอสปรุงรสในอาหาร หรือใส่ลงบนอาหารโดยตรงเพื่อเพิ่มรสชาติ ทำให้คนไทยเสี่ยงได้รับปริมาณโซเดียมเกินกว่าความต้องการในแต่ละวัน

 

แต่ ปัจจุบัน เรามักจะพบว่าอาหารที่บริโภคมีหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารแปรรูป ซึ่งน้อยคนนักที่ไม่ได้สังเกต หรือใส่ใจปริมาณโซเดียมในอาหารนั้น ๆ เมื่อปริมาณเข้าไปในปริมาณมาก หรือ หลายชนิดอาหารรวมต่อวัน ก็จะทำให้ได้รับปริมาณโซเดียมเกินกว่าที่กำหนด ... ซึ่งอาจตามมาถึงกระทบของการที่ได้รับโซเดียมเกินกว่าที่กำหนด อาจเป็นสาเหตุทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คนอ้วน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ และสมอง เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมาในอนาคตได้

 

วิธีการง่ายๆ ที่เราจะสังเกตปริมาณโซเดียม ก็คือ การอ่านฉลากโภชนาการในบรรจุภัณฑ์ของอาหาร ซึ่งจะแสดงในผลิตภัณฑ์ มีทั้งรูปแบบ GDA ที่ทำให้คนทั่วไปอ่านง่าย ที่จะบอกเนื้อหา ค่าพลังงาน น้าตาล ไขมัน และโซเดียม หรือ รูปแบบฉลากโภชนาการแบบเต็มที่เป็นแถบแสดงปริมาสารอาหารต่าง ๆ

 

วันนี้ เซ็นทรัลแล็บไทย มีวิธีการอ่านฉลากโภชนาการ ให้กับทุกคน ตามนี้เลย

1. ให้ดู “ฉลากหวานมันเค็ม” หรือ “ฉลากจีดีเอ” (Guideline Daily Amount : GDA) ซึ่งฉลากประเภทนี้ อ่านง่ายมาก ตอบโจทย์วัยทีน อายุ 14-18 ปี  โดยฉลากหวานมันเค็ม จะแสดงให้เราเห็นว่าในผลิตภัณฑ์ 1 ขวด ถุง ซองหรือกล่องนั้นว่ามีพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมอยู่ในปริมาณเท่าไร....... อีกทั้งคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบต่อปริมาณที่ควรกินในแต่ละวันอีกด้วย เช่น ถ้าเราเลือกกินอาหารที่ได้รับไขมัน 2% เราจึงควรได้รับไขมันจากอาหารอื่น ๆ ให้ไม่เกิน 98% หรือในส่วนของปริมาณโซเดียมที่มี 1% เมื่อเทียบกับปริมาณโซเดียมที่กำหนดคือไม่ควรกินเกิน 2,000 มิลลิกรัม และสำหรับค่าน้ำตาล ข้อแนะนำคือในแต่ละวันเราไม่ควรได้รับน้ำตาลเติมเพิ่มไม่เกิน 24 กรัม เป็นต้น

2.  “ฉลากโภชนาการแบบเต็ม” จะบอกทุกรายละเอียดแบบเจาะลึก คือ เปรียบเทียบปริมาณสารอาหารอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น ไขมัน โปรตีน น้ำตาล ใยอาหาร วิตามิน เกลือแร่ ฯลฯ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการและมีสารอาหารครบถ้วน ฉลากโภชนาการ มักอยู่ด้านหลังหรือด้านข้างบรรจุภัณฑ์ โดยจะแสดงสารอาหารต่อ 1 หน่วยบริโภคเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากฉลากโภชนาการแสดงปริมาณหน่วยบริโภคไว้ว่า ½ ซอง นั่นคือปริมาณที่แนะนำให้กินในแต่ละครั้ง และสารอาหารที่จะได้รับจากการกิน ½ ซองเท่านั้น ดังนั้นหากเรากินอาหารหรือขนมทั้งหมด 1 ซองในทันที สารอาหารที่ได้รับก็จะต้องคูณด้วย 2 หรือจำนวนหน่วยบริโภคที่แสดงอยู่ที่ฉลากโภชนาการ

 

ดังนั้น ผู้บริโภคจึงไม่ควรละเลยหรือมองข้ามฉลากโภชนาการ การอ่านข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ จะทำให้ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารตามที่ต้องการ

 

เซ็นทรัลแล็บไทย เป็นหนึ่งห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. รับรองให้เป็นหน่วยตรวจ และ จัดทำฉลากโภชนาการ โดยเราสามารถให้บริการตรวจทุกสอบหาสารอาหารได้ทั้ง 6 สาขา ประกอบด้วย เชียงใหม่ ขอนแก่น กรุงเทพ ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร และ สงขลา

 

เซ็นทรัลแล็บไทย ฉลากโภชนาการ ฉลากGDA วันไอโอดีนแห่งชาติ

ที่เกี่ยวข้อง